วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ.2555
เวลาเรียน 08.30-12.20 น
เวลาเรียน 08.30-12.20 น
อาจารย์เข้ามาช็คชื่อตามปกติ
แล้วให้เเต่ละกลุ่มคิดคำขวัญรณรงค์สุรา
คำขวัญรณรงค์สุราที่เพื่อน ๆ ร่วมกันตั้ง คือ
กลุ่มที่1 สุราเป็นยาเสพติด พวกเราอย่าหลงผิดคิดติดมันเลย (ส้ม ภา)
กลุ่มที่ 2เก็บเงินใส่ขวด ดีกว่าเจ็บปวดเพราะเป็นตับแข็ง( มะปราง)
กลุ่มที่ 3 สุราเป็นยาพิษ ดื่มนิดๆก็ติดใจ
ถ้าไม่อยากตายไว ต้องห่างไกลผิดสุรา( แอม อ้อม)
กลุ่มที่ 4 ดื่มสุราเหมือนฆ่าชีวิต คิดซักนิดก่อนจะดื่ม ( ฝน ริตา)
กลุ่มที่ 5 สุรานั้นทำลายชีวิต อย่าหลงผิดคิดไปลอง(แอน แป้ง)
กลุ่มที่ 6 สุราใช่มีค่า อย่าสรรหามันมาลอง เราควรคิดไตร่ตรอง อย่าได้ลองดื่มสุรา( กิ๊ฟ ซะห์)
กลุ่มที่ 7 สุราไม่ใช่พ่อ แล้วจะไปง้อมันทำไม ( แก้ม เบลล์)
กลุ่มที่ 8สุราน่ารังเกลียด ทำให้แครียดจนมึนงง เราควรจะต้องปลง อย่าไปหลงลองมันเลย ( ศิ หนูนา)
กลุ่มที่ 9สุราคือน้ำเมา จะทำเราเสียชีวิต จึงควรคิดให้ดี ก่อนจะติดจนตัวตาย ( ปูนิ่ม นุ่น)
กลุ่มที่ 10 ดื่มสุราวันละนิด แค่คิดก็เสี่ยงแล้ว (โอม โอ)
กลุ่มที่ 11 เสียเหงื่อเพื่อกีฬา ดีกว่าเสียเงินตรา ให้กับค่าเหล้า (แอน วาว)
กลุ่มที่ 12 สุรากินแล้วเมา กลับบ้านเก่าก่อนใครๆ (หลัน จ๋า)
กลุ่มที่ 13 ดื่มนมเพื่อสุขภาพ ดีกว่าดื่มน้ำเนาเพื่อมรณภาพ (สา กุ้ง)
กลุ่มที่ 14 สุราลองแล้วติด อย่าได้คิดติดมันเลย (ซาร่า แก้ว)
กลุ่มที่ 15รักชีวิต อย่าคิดดื่มสุรา ( กวาง เมย์)
กลุ่มที่ 16 สุรานั้นไม่ดี มีทั้งพิษและมีภัย ดื่มแล้วก็ติดใจ เงินรั่วไหลหมดกระเป๋า (บี รัตน์)
- อาจารย์ให้ดูการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้วรรณกรรม เรื่องช้างน้อยอัลเฟรด ซึ่งเขียนโดย นฤมล เนียมหอม
- แนวคิดที่ได้จากนิทาน 1. การยอมรับความแตกต่างของผู้อื่น และยอมรับความแตกต่างของตนเองที่ไม่เหมือนผู้อื่น
การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้วรรณกรรมนิทานมีส่วนสำคัญในการสร้างเสริมจินตนาการให้แก่เด็ก การนำนิทานมาเป็นสื่อหลักในการจัดประสบการณ์ จึงเป็นเทคนิคที่จะช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น
2. การช่วยเหลือที่ต้องมีในสังคมเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง
เกมจึงมีความสำคัญเช่นกัน มีรายละเอียด ดังนี้ ..
1. เกมจับคู่
1. เกมจับคู่
2. เกมโดมิโน
3.เกมล้อตโต
4. เกมสำคัญ 2 แกน
5. เกมอุปมา อุปมัย
6. เกมอนุกรม
- ส่วนของการการเล่านิทานก้อมีหลากหลาย เช่นกัน คือ
1.เล่าไปตัดไป
2. เล่าไปวาดไป
3. เล่าไปฉีกไป
4. เล่าไปพับไป
5. เล่าด้วยเชือก
- อาจารย์จับกลุ่ม แล้วตกลงกันเองว่ากลุ่มไหนจาเล่าแบบไหน โดยแบ่งกลุ่มละเท่า ๆ กัน
- อาจารย์ให้ฟังเพลงเกาะสมุย แล้วบอกถึงความหมายเพลงว่าเพลงบอกอะไรเรา ประโยชน์ของเพลงคืออะไร
บรรยากาศภายในห้องวันนี้
- เต็มไปด้วยเสียงหัวเราะ ทุกคนร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างสนุกสนาน
- อาจารย์มีสีหน้ายิ้มแย้ม ตลอดเวลาเมื่อพูดคุย
- เพื่อนตั้งใจฟัง และบางคนก็หัวเราะเมื่อได้ยินเพลงเกาะสมุย
ความรู้เพิ่มเติมที่ได้ในวันนี้
- ได้รู้จักการจัดประสบการณ์โดยใช้วรรณกรรม
- ได้รู้เทคนิคต่าง ๆ ในการเล่านิทานอย่างถี่ถ้วนว่ามีอะไรบ้าง แต่ละอย่างสมารถประกอบการเล่านิทานได้อย่างไรบ้าง
-ได้มีการคิดวิเคราะห์จากนิทานที่อาจารย์ ยกตัวอย่างเรื่อ ช้างน้อยอัลเฟรตว่าเป็นอย่างไร ช่วยส่งเสริมด้สนใดให้กับเด็ก และเราควรเล่าแบบใดเพื่อให้การเล่าสมบูรณ์แบบที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็นได้น๊าา ตามช่องข้างล่าง v นี้เลยค่าา :D